ออกกำลังกายทุกวันกินอาหารคลีนไม่ สูบบุหรี่ไฟฟ้า แต่ทำไมเป็นมะเร็งปอด

ออกกำลังกายทุกวันกินอาหารคลีนไม่ สูบบุหรี่ไฟฟ้า แต่ทำไมเป็นมะเร็งปอด

มะเร็งปอด ถือเป็น 1 ใน 5 ของมะเร็งที่พบบ่อยมากที่สุด โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ชาย ล่าสุดจากกรณีของหมอวัย 28 ปี ได้โพสต์เรื่องราวการต่อสู้กับโรคมะเร็งปอด ทั้งที่ก่อนหน้านี้ร่างกายปกติแข็งแรงดีทุกอย่าง ออกกำลังกายเป็นประจำ ไม่เคยสูบบุหรี่หรือ สูบบุหรี่ไฟฟ้า เลย และไม่มีสัญญาณเตือน หรือความเสี่ยงใด ๆ ทั้งสิ้น มะเร็งปอด เกิดจากการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติอย่างรวดเร็วและไม่สามารถควบคุมได้ ทำให้เกิดเป็นกลุ่มก้อนของเซลล์ที่ผิดปกติ ซึ่งจะตรวจพบได้เมื่อมีขนาดใหญ่ มีจำนวนมาก และแพร่ไปตามบริเวณต่าง ๆ ของร่างกาย มะเร็งปอดจะทำลายชีวิตของผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็ว  แต่รวดเร็วแค่ไหนขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็ง

มะเร็งปอดมีกี่ชนิด ทำไมถึงเป็นมะเร็งปอดได้ง่าย

มะเร็งปอดแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ตามขนาดของเซลล์ ซึ่งความแตกต่างของขนาดเซลล์นี้มีความสำคัญ เนื่องจากวิธีการรักษาจะแตกต่างกัน มะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก พบได้ประมาณ 10-15% เซลล์จะเจริญเติบโตและแพร่กระจายได้รวดเร็วกว่ามะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว การรักษาจะไม่ใช้วิธีการผ่าตัด ส่วนมากรักษาด้วยการใช้ยาหรือการฉายรังสี 

การเฝ้าระวังปัจจัยเสี่ยงป้องกันมะเร็งปอดจากการไม่ สูบบุหรี่ไฟฟ้า

มะเร็งปอด เป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในโลก สำหรับประเทศไทย โรคมะเร็งปอดถือเป็น 1 ใน 5 ของมะเร็งที่พบบ่อย พบมากเป็นอันดับ 2 ในเพศชาย และอันดับ 5 ในเพศหญิง แต่ละปีจะมีผู้ป่วยรายใหม่ประมาณ 17,222 ราย เป็นเพศชาย 10,766 ราย และเพศหญิง6,456 ราย ในจำนวนนี้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 14,586 ราย หรือคิดเป็น 40 รายต่อวัน ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของโรคมะเร็งปอด คือ การสูบบุหรี่หรือการได้รับควันบุหรี่มือสองและการสัมผัสสารก่อมะเร็ง อาทิ ก๊าซเรดอน แร่ใยหิน รังสี ควัน ธูป ควันจากท่อไอเสีย และมลภาวะทางอากาศ เป็นต้น ฝุ่น PM 2.5 คือ สสารที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน เกิดจากควันรถ การเผาไหม้ การก่อสร้างฝุ่นข้ามแดน เป็นต้น สารเหล่านี้เมื่อเข้าไปในหลอดลมของสิ่งมีชีวิตจะก่อให้เกิดการระคายเคือง 

มะเร็งปอดระยะแรกจากการไม่สูบบุหรี่ไฟฟ้ามักไม่มีอาการ

ออกกำลังกายทุกวันกินอาหารคลีนไม่ สูบบุหรี่ไฟฟ้า แต่ทำไมเป็นมะเร็งปอด

ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งปอดระยะแรกมักจะไม่มีอาการ แต่เมื่อโรคดำเนินไปมากขึ้น  ก็จะมีอาการแต่มักไม่จำเพาะจึงอาจทำให้เกิดการวินิจฉัยที่ล่าช้ามีผลต่อระยะของโรคที่ลุกลามหรือแพร่กระจายไปมาก ส่งผลให้การรักษาได้ผลไม่ดีเท่าที่ควรและมีโอกาสการรักษาหายจากโรคน้อย แต่โดยทั่วไปแล้ว มะเร็งปอดมีปัญญาเตือน ดังต่อไปนี้

อาการไอเรื้อรังมากกว่า 1 เดือน ไอมีเสมหะปนเลือด เสียงแหบ หายใจลำบาก มีปัญหาการหายใจ เช่น หายใจสั้น หายใจมีเสียงหวีด เหนื่อยหอบง่ายมากกว่าปกติ เจ็บแน่นหน้าอก อ่อนเพลีย ติดเชื้อในปอดบ่อย ๆ เช่น ปอดบวม น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ  หากมีอาการผิดปกติเหล่านี้ผู้ป่วยควรรีบปรึกษาแพทย์ ด้านการรักษามีวิธีหลัก ๆ ได้แก่ การผ่าตัด การให้ยาเคมีบำบัด และการฉายรังสี ซึ่งแพทย์จะพิจารณาจากระยะของโรค ตำแหน่งของก้อนมะเร็ง และการกระจายของโรค รวมถึงสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย  หากมีอาการเข้าข่ายของโรคมะเร็งปอด แพทย์จะทำการตรวจร่างกาย ตรวจเสมหะ เอกซเรย์ปอด หากพบความผิดปกติ อาจต้องการทำการตรวจเพิ่มเติมเพื่อยืนยันการวินิจฉัย

Kardinal Adjust the price